วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนามีหลักการและทฤษฎีที่เป็นสากล คือ หลักอริยสัจ 4 หมายถึง หลักความจริงอันประเสริฐของชีวิตมี 4 ประการคือ
 1. ทุกข์ (ความไม่สบายกายและใจ) สอนว่า    ชีวิต และโลก นี้มีปัญหาอะไรบ้าง 
 2. สมุทัย (สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์) สอนว่า  “ ปัญหาต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุ  มิได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ 
 3. นิโรธ (วิธีการดับทุกข์) สอนว่า   มนุษย์มีศักยภาพในตัวเอง ที่จะสามารถแก้ปัญหาได้เอง 
 4. มรรค (แนวทางการปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์) สอนว่า การแก้ปัญหาต้องใช้ปัญญา (ความรู้และความเพียรพยายาม)
อริยสัจ 4 เป็นหลักความจริงที่มีหลักการเป็นที่ยอมรับสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นหลักสากลยอมรับทั่วไป
ข้อปฏิบัติที่ยึดถือทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา
          พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เป็นสภาวะกลาง คือ การปฏิบัติที่ยึดทางสายกลางไม่ตึงหรือหย่อนต่อการปฏิบัติจนเกินไปเรียกว่า  มัชฌิมาปฏิปทา   ซึ่งมีความหมายว่า การปฏิบัติที่พอดีมีความสมเหตุสมผล ไม่ทำอะไรที่สุดโต่ง เช่น เคร่งครัดสุดโต่ง หรือหย่อนสุดโต่ง การพิจารณาปฏิบัติให้พอดีจากเหตุผลในสภาวะต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามหลักศีลธรรม กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา และการพัฒนาชีวิตที่ดีงาม หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ค้นพบและกำหนดไว้เป็นสภาวะกลาง ๆ เช่น มรรค 8 ซึ่งมีรายละเอียด


                           

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา


    พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
พระพุทธ     คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตามพระธรรม     คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพระสงฆ์     คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม        

ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา ชาดก



             
๑. สามารถอธิบายประวัติพุทธสาวก ได้แก่ พระอัสสชิและหมอชีวกโกมารภัจ และนำวัตรปฏิบัติของท่านไปเป็นแบบอย่างใน
                การดำเนินชีวิตได้
             ๒. สามารถอธิบายชาดก เรื่อง เวสสันดรชาดก และนำไปเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้

อ่านเพิ่มเติม                                                    

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา



            ๑. สามารถอธิบายพระรัตนตรัยเกี่ยวกับความหมายและคุณค่าของพุทธะ และนำมาประยุกต์ใช้ในการกำหนดเป็น
               แนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผลเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขได้
            ๒. สามารถอธิบายอริยสัจ 4 เกี่ยวกับทุกข์ในขันธ์ 5 เรื่องนามรูป และนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดเป็น
               แนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผลเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขได้  อ่านเพิ่มเติม
                                         

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา



            
 ๑. สามารถอธิบายความหมายและองค์ประกอบของหลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและนำไป
                พัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมได้
             ๒. สามารถอธิบายความหมายและองค์ประกอบของหลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันธรรมสวนะและเทศกาลสำคัญ และนำไป
                พัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมได้
             ๓. สามารถอธิบายศาสนพิธีเนื่องด้วยพุทธบัญญัติ และสามารถนำไปเป็นแนวปฏิบัติในการประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ ได้
             ๔. สามารถอธิบายศาสนพิธีที่นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวเนื่อง และนำไปเป็นแนวปฏิบัติในการประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ ได้  อ่านเพิ่มเติม

                                  

สัมมนาพระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาและการพัฒนา

  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันทรงเสนอแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งมีฐานมาจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนเรื่องการพึ่งตนเอง อตฺตา หิ อตฺตาโน นาโถ (ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน)


         
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
         เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง” โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง” หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ